Edible trip’s factors: Take the right edible in the right place at the right time บรรยากาศกับการกินเอดิเบิลส์ ใครว่าไม่สำคัญ
เพอร์เฟคทริปจากการกินเอดิเบิลส์นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น
- ปริมาณที่ทาน
- ประเภทของเอดิเบิลส์
- ความถี่ของการใช้เอดิเบิลส์
- ความเข้มข้นของสารTHCที่ผสมอยู่ในเอดิเบิลส์
- ระบบการเผาผลาญของแต่ละบุคคล
- ขณะที่ทางท้องว่าง หรือ ท้องอิ่ม
นอกจากนี้เราค้นพบว่า กิจกรรม, สถานที่ หรือแม้แต่ผู้ร่วมทริปเอดิเบิลส์ของเรา ก็ส่งผลไม่น้อยว่าจะทำให้ทริปนี้ สุนทรีย์ หรือ แบดทริป
หลายคนอาจเคยเห็นเอดิเบิลส์ ณ ปัจจุบันที่ได้ทำการแยกชนิดชัดเจน คือ ซาติว่า (sativa), อินดิก้า (indica) และ ไฮบริด (hybrid) ผ่านตากันมาไม่น้อย การแยกสารที่ให้เอฟเฟกต์ที่ชัดเจนแบบนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่า ควรใช้แบบไหนกับกิจกรรมอะไร
แน่นอนว่า อินดิก้าย่อมให้ความรู้สึกเคลิบเคลิ้ม ผ่อนคลาย ไม่ต่างจากการสูบ แต่เอฟเฟกต์อาจจะแรงกว่า ดังนั้นหากใช้เพื่อการพักผ่อนไม่ว่าจะนั่งดูริมทะเล นอนดูซีรีย์ ฟังเพลงอยู่ที่บ้าน ย่อมทำให้ผู้ทานรู้สึกผ่อนคลายหลับสบายกับช่วงเวลาของการพักผ่อน จึงไม่เหมาะกับการใช้เมื่ออกไปนอกบ้าน หรือ เข้าสังคม
ต่อมาคือ ไฮบริด จะให้ความรู้สึกที่กึ่งกลางของทั้ง อินดิก้า และ ซาติวา เอดิเบิลส์ทีเขียนว่า ไฮบริดนั้น เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการความกะปรี้ปะเปร่ามาก แต่ก็ไม่ถึงกับทำให้ง่วงอย่างอินดิก้าสามารถใช้ได้ตั้งแต่ช่วงเช้าไปจนถึงช่วงเย็น เหมาะกับการไปเดินตลาดนัด (Flea Market) ชมงานศิลปะในพิพิธภัณฑ์ เดินหรือนั่งเล่นในสวนก็ยังได้
สุดท้าย ซาติวา ให้ความรู้สึกกะปรี้กะเปร่า เอนจอย ถึงขนาดว่า กินแล้วไปนั่งในวงเหล้า โดยที่ไม่ดื่ม ก็สนุกเกินหน้าเกินตาคนอื่นๆได้ จากรีวิวต่างประเทศ ดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่คนใช้เยอะที่สุด โดยเฉพาะการกินและไปร่วมงานคอนเสริต แต่ก็ยังไม่หลายคนที่ยังไม่ประสบผลสำเร็จกับการกินเอดิเบิลส์อยู่เหมือนกัน
อย่าลืมว่า เอดิเบิลส์ใช้เวลาย่อยนานพอสมควร ดังนั้นเราจึงต้องกะเวลาเผื่อซักหน่อยหากจะใช้เอดิเบิลส์เพื่อกิจกรรมที่เราวางแผนไว้ ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีสินค้าที่บอกว่าตัวเองเป็นสินค้าออกฤทธิ์เร็ว (Fast onset) จะออกฤทธิ์เร็วกกว่าเอดิเบิลส์แบบเดิม แต่ก็ไม่เร็วขนาดที่เคมไว้ในคำโฆษณาของแบรนด์
หนึ่งในกิจกรรมที่เราอยากจะแนะนำในการใช้เอดิเบิลส์ คือการไปดูเทศกาลดนตรีและคอนเสริต เมื่อสถานการณ์โควิด-19เริ่มคลี่คลาย ผู้จัดหลายหลายเจ้าได้เริ่มจัดเทศกาลเหล่านี้ถี่ขึ้น ที่เห็นกันปลายปีที่ผ่านมาเช่น Longlay, Big Mountain Festival และ Neon Countdown นอกจากนี้ยังมีอีกหลากหลายงานที่กำลังตามกันมาไม่ว่าจะเป็น Pelupo, S2O, Rolling Loud และอื่นๆอีกมากมาย
เหตุผลที่เราหยิบยกการจับคู่กัญชาและดนตรีขึ้นมา นั่นก็เพราะว่า การฟังเพลงควบคู่นั้นมีมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นการฟังจากแผ่นไวนิล (Vinyls) ตลอดจนการร่วมงานเทศกาลดนตรี (Music festival) หรือแม้กระทั่งศิลปินหลายคนก็ได้รับแรงบันดาลใจในการแต่งเพลงจากการใช้กัญชา
หากใครที่เคยมีประสบการณ์เหล่านี้ จะเข้าใจว่ามันสนุกแค่ไหนกับแสง สี เสียงในงานต่างๆ นั่นเพราะว่าเราจะมีโสตประสาทของการได้ยินเปิดรับดีขึ้นเมื่อเรากำลังเพลิดเพลินเอฟเฟกต์จากกัญชาประกอบกับห้วงเวลาทีผ่านไปอย่างช้าๆ จนทำให้เราต้องตั้งใจโฟกัส หรือ ปล่อยตัวปล่อยใจไปตามเสียงเพลง
หลากหลายงานวิจัยจากต่างประเทศได้อธิบายไว้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้กัญชาในปริมาณที่เหมาะสมและฟังเพลงที่ชอบช่วยให้ผู้ใช้ส่วนมากรู้สึกผ่อนคลาย และ สงบนิ่ง สองสิ่งนี้ให้ผลดีในเรื่องของการบำบัด หากใช้เพลงที่สื่อความหมายเชิงบวก เช่น การบรรเทาความเจ็บปวด และ ความวิตกกังวล ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
จากประสบการณ์ของหลายๆคนได้มีการแชร์ว่า การฟังเพลงที่มี BPM (Beat per minute) สูงกว่า 150BMP จะทำให้หัวใจเต้นแรง อาจทำให้บางคนถึงกับหน้ามืดหรือเกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ หรือแม้กระทั่งการอยู่ในคนหมู่มากและต้องคุย หากผู้ใช้เอดิเบิลส์นั่นกำลังได้รับเอฟเฟกต์ของเอดิเบิลส์อย่างเต็มที่ การที่ต้องตั้งใจกับบทสนทนาอาจไม่ใช่สถานการณ์ที่ดี ณ ขณะนั้น เราขอแนะนำให้อยู่ในพื้นที่อากาศถ่ายเท และ ดื่มน้ำเรื่อยๆ เพื่อเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย
ถึงแม้ว่าการสูบกัญชาจะเป็นวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ในปัจจุบันมีหลากหลายวิธีที่สามารถใช้กัญชาได้อย่างไม่โจ่งแจ้ง และ มีกลิ่นรบกวนคนข้างๆ การใช้เอดิเบิลส์ได้เข้ามาเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ แต่ก่อนจะหยิบเอดิเบิลส์ไปทานนอกบ้าน เราควรซ้อมที่บ้านสักหน่อย ว่าอีเวนท์ที่จะมาถึงนั้น เราจะทานเอดิเบิลส์แบบไหน และ ใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่ที่จะรู้สึกถึงเอฟเฟกต์เราจะได้ไม่ไปแบดทริปตอนทำกิจกรรมนั้นๆ